Downloads


Version
Download 2542
Total Views 2340
Stock
File Size 2.71 MB
File Type pdf
Create Date 24 สิงหาคม, 2021
Last Updated 25 สิงหาคม, 2021
Download

ผู้วิจัย นางจิรัฐิพร นวนสาย

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน


เรื่อง
การพัฒนาการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยใช้เทคนิค STAD ประกอบ
แบบฝึกทักษะ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้วิจัย จิรัฐิพร นวนสาย
อาจารย์ที่ปรึกษาอาจารย์ ดร.สำราญ ธุระตา  อาจารย์ ดร.โกวิท วัชรินทรางกูร
สถานศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ปีที่พิมพ์ 2564

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏ
บุรีรัมย์ อ าเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
จ านวน 3 ห้องเรียน จ านวนนักเรียน 70 คน กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัด
กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 15 คน
เลือกโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มแล้ว
จับฉลากมา 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านคิดวิเคราะห์
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 แผ่น เป็นแผนการ
จัดการเรียนรู้ละ 5 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 5 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลัง
การใช้แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 6 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่
ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และ
การทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples)
ผลการวิจัยมีดังนี้ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการใช้แบบฝึก
ทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อน
เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการเรียน
โดยใช้แบบฝึกทักษะ อยู่ในระดับ มากที่สุด