Downloads


Version
Download 8486
Total Views 9343
Stock
File Size 2.27 MB
File Type pdf
Create Date 25 สิงหาคม, 2021
Last Updated 25 สิงหาคม, 2021
Download

ผู้วิจัย  วิชชุลดา นุชนงค์

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน


เรื่อง
ผลการจัดกิจกรรมการปั้นที่มีต่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
ของเด็กปฐมวัย ชั้นบริบาล โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ผู้วิจัย  วิชชุลดา นุชนงค์
อาจารย์ที่ปรึกษา  อาจารย์วิภารัตน์ อิ่มรัมย์ และอาจารย์ ดร.โกวิท วัชรินทรางกูร
สถานศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ปีที่พิมพ์ 2564


บทคัดย่อ


วิจัยเรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการปั้นที่มีต่อความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็ก
ปฐมวัย ชั้นบริบาล โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
เปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นบริบาล โรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการปั้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
คือ เด็กชาย–หญิง ที่มีอายุระหว่าง 2-3 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นบริบาล ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา
2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ดังนี้ 1. แผนการจัดกิจกรรมการปั้น จำนวน 8 แผน                                                                                                                                                                                                         
2.แบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1. การ
วิเคราะห์คุณภาพแผนการจัดกิจกรรมการปั้น 2. การวิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบวัด
ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย 3. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยหลังการได้รับกิจกรรมการปั้นมีความสามารถในการใช้
กล้ามเนื้อมัดเล็กโดยรวมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง เพื่อพิจารณารายด้านแล้วพบว่า
ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยก่อนได้รับการจัดกิจกรรมการปั้น มีค่าเฉลี่ย
รวมเท่ากับ 1.30 และมีค่าเฉลี่ยแยกเป็นรายด้าน คือ ด้านความแข็งแรงเท่ากับ 0.21 และด้าน
ความสัมพันธ์ของมือกับตาเท่ากับ 1.09 แต่หลังการได้รับการจัดกิจกรรมการปั้น มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ
2.65 และมีค่าเฉลี่ยแยกเป็นรายด้าน คือ ด้านความแข็งแรงเท่ากับ 1.78 และด้านความสัมพันธ์มือกับ
ตาเท่ากับ 2.74